วันเสาร์

ที่อยู่ แผนที่ ทัศนียภาพของวัด

ชื่อเดิม คือ สำนักสงฆ์ป่าเครือวัลย์ (สาขาวัดหนองป่าพงที่ ๓๕ ) ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๑
ประกาศตั้งเป็น "วัดสุภัททมงคล" อย่างเป็นทางการ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๒

ชื่อใหม่ปัจจุบัน คือ  วัดสุภัททมงคล (สาขาวัดหนองป่าพงที่ ๓๕ ) 
ที่ตั้ง  บ.ยางเครือ ม.๙ ต.ยางสักฯ อ.ม่วงสามสิบ
         จ.อุบลราชธานี   ๓๔๑๔๐
         (หลัก กม.ที่ ๒๘  ถ.อุบลฯ-อำนาจเจริญ)
เนื้อที่ : ประมาณ ๓๖๐ ไร่
E-mail: supattamk35@hotmail.com
โทร. 089-7939253

แนวรั้วติดถนนใหญ่ (ยาว ๗๐๐ ม.)

ประตูรั้วเขตสำนักสงฆ์เดิม (ป่าเครือวัลย์)
ศาลาอเนกประสงค์ เป็นทั้งกุฏิหลวงพ่อ หอฉัน ที่ทำวัตรสวดมนต์ ฟังธรรม
ม้าหินในลานธรรม
ลานธรรมปูด้วยอิฐศิลาแรง 16,000 ก้อน
ลานธรรม หรือ เรียกอีกอย่างว่า "ถิ่นนักปราชญ์"
"พระพุทธิเจ้า" แกะสลักโดยหลวงพ่อ เมื่อปี 2552
ลานอเนกประสงค์ข้างกุฏิหลวงพ่อ
พระพุทธองค์ประทับบนเสารูปเทียน
ท้องฟ้ายามพลบค่ำช่วงทำวัตรเย็น
ประตูวงกลม (สุญญตา) ทางเดินออกไปบิณฑบาตร
เสารูปต้นเทียน
ฉันใต้ร่มไม้เป็นวัตร (ในช่วงหน้าหนาวและหน้าร้อน)
ห้องดับทุกข์ (ห้องสุขา) สามองค์
กุฏิสำหรับพระใหม่ใช้ฝึกตน
ที่นั่งกรรมฐานในบางโอกาส
สระน้ำสำหรับใช้อุปโภคตลอดปี
ทางเดินจงกรมทำความเพียร
เส้นทางจงกรมรอบพื้นที่ป่า
ฝึกตนด้วยการอยู่ง่าย
โยมผู้ใฝ่ศึกษาธรรมะ ทำความเพียร "กินง่าย อยู่ง่าย เห็นง่าย" (ตามคำสอนหลวงปู่ชา)
ทางเดินอันวิเวก
ช่วยกันต้มแก่นขนุนย้อมผ้า
ร่วมกันทำกิจวัตรย้อมผ้าเป็นข้อวัตรในวันโกน
ย้อมผ้าด้วยแก่นขนุน ช่วยให้สีเข้ม ไม่มีกลิ่นอับ เนื้อผ้าหนาขึ้น และสืบทอดประเพณีของพระโบราณ
โยมผู้ใฝ่ธรรมเดินทางมาร่วมศึกษาธรรมะ
 โกวิโท, อาภากโร ก่อนออกบิณฑบาต (เม.ย. ๒๕๕๔),
ผ้าขาวคือ ท่านยุทธ (ต่อมาปี ๒๕๕๗ กลับมาอุปสมบทจำพรรษาที่นี่)
จากมุมสระน้ำสำหรับอุปโภค
ป้ายชื่อวัด (หลวงพ่อเขียนเอง)
กุฏิบริเวณป่าร่มมะพอก

กุฎิทรงเจดีย์ยอดแหลม
ห้องนี้ดับทุกข์ (ห้องสุขา)
กุฏิรับรอง
ช่วงปิดเทอม เด็กๆ มาช่วยกันสร้างทางเดินรอบศาลาเต่าล้านปี
(เฟม, เฟิร์น, ก๊อต, เจมส์  แม้จะเกิดที่ Esan แต่ก็ชื่อ English นะ!!!)
ห้องสุขาญาติโยม ๒ จุด จุดละ ๑๐ ห้อง
 
กุฏิสองชั้น ปัจจุบันหลวงพ่อพักชั้นบน
(ระหว่างรอการก่อสร้างวิหารหิน)
---------------------------------------------------------------------------------------

ป้ายข้อคิดคำสอนในลานธรรม













---------------------------------------------------------------------------------------

โครงการก่อสร้างศาสนวัตถุในอาราม ณ ปัจจุบัน
ตามคำขวัญของวัด คือ "จระเข้ใหญ่  ไดโนเสาร์  เต่าล้านปี  เจดีย์หิน  ถิ่นนักปราชญ์"

จระเข้ใหญ่  สร้างเสร็จ ต.ค. ๒๕๕๓
เป็นกุฏิที่พักสำหรับพระิภิกษุ (ยาวประมาณ 23 เมตร)

กุฏิจระเข้ ถ้ำที่พักสำหรับพระสงฆ์

เต่าล้านปี  แล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๕
เป็นศาลาใช้สอยอเนกประสงค์ ก่อสร้างปี ๒๕๕๔




พระพุทธมุจลินทร์ ณ ศาลาเต่าล้านปี


เจดีย์หิน  (ปัจจุบันภายในยังไม่แล้วเสร็จ)
"สุภัททมงคลเจดีย์" เจตนาสร้างเป็นทั้งเจดีย์และอุโบสถทำสังฆกรรม
เริ่มถมที่ก่อสร้าง พ.ศ. ๒๕๕๒ 


สุภัททะ พุทโธ เจดีย์หิน
(ดอกบัวบนยอดเจดีย์ บรรจุบรมสารีริกธาตุ พระอรหันตธาตุ พระอัฐิธาตุ)


ภาพล่าสุดเมื่อ ต.ค. ๕๗   

ถิ่นนักปราชญ์
เป็นลานธรรม ปูพื้นด้วยหินศิลาแลงจำนวน 16,000 ก้อน
และ จะทยอยสร้างหินแกะสลักเป็นตัวแทนนักปราชญ์ พร้อมจารึกข้อคิดคำสอนของแต่ละท่าน

พระมหาภิริทัตโต (มั่น)
พระมหาอินทปัญโญ (พุทธทาส)
พระมหากันตสีโล (ทองรัตน์)
พระมหานันทะ (ปัญญา)
พระมหาสุภัทโท (ชา)
พระมหาจันทิโย (กินรี)
พระมหาสุธัมโม (ฉลวย)

---------------------------------------------------------------------------------------

วิหารหิน   (ปัจจุบันยังไม่แล้วเสร็จ)
ดัดแปลงกุฏิหลังเดิมของหลวงพ่อให้กลายเป็นวิหารหินศิลาแลง ส่วนห้องพักยังคงเอาไว้สำหรับใช้เป็นที่พักได้เช่นเดิม เริ่มก่อสร้าง กลางปี ๒๕๕๖



ภาพภ่าย ต.ค.๕๗ 



เจ้าชายสิทธัตถะทรงม้ากัณฑกะ  (ปัจจุบันยังไม่แล้วเสร็จ)
อนุสรณ์ระลึกถึงคราวที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกจากพระราชวัง เพื่อออกบวช ก่อนตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า เป็นเครื่องเตือนสติว่า การอยู่เฝ้าครองเรือนเยี่ยงฆราวาสไม่ใช่วิถีตามรอยพระศาสดา
เริ่มก่อสร้าง ส.ค. ๕๗